วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560

การวัดผล และการประเมินผล ในการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21



ท่านที่เคารพ การวัดผล และการประเมินผล ในการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 “เป็นการวัดผล ประเมินผลตามความเป็นจริง Authentic assessment” และการประเมินผลแบบ Rubric Assessment ก็เป็นการประเมินตามความเป็นจริง ที่สามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆทางการเรียนรู้ได้อย่างดี

คำว่า“Rubric” หมายถึงเกณฑ์ หรือกติกา ดังนั้น คำว่า Rubric Assessment จึงหมายถึงแนวทางการให้คะแนนซึ่งสามารถ “แยกเป็นระดับต่างๆของความสำเร็จในการเรียน หรือการปฏิบัติของนักเรียนได้อย่างชัดเจน” และ คุณครูได้มีความคุ้นเคย กันดีอยู่แล้วคือ

การวัดความสำเร็จของ ผลงาน ชิ้นงาน ความสามารถ และทักษะต่างๆ The success of work, capabilities and skills.
เกณฑ์คะแนน 0 = ไม่ผ่าน ไม่มีการประเมิน,
เกณฑ์คะแนน 1= ต้องแก้ไขปรับปรุง, หมายความว่า The students' work is not where it should be (weak). He/she does not complete the assignment and/or has no understanding of what to do.
เกณฑ์คะแนน 2= ผ่าน, หมายความว่า The students' work is satisfactory (Almost there but acceptable). He/she may or may not complete the assignment with limited understanding.
เกณฑ์คะแนน 3=ดี, หมายความว่า The students' work is good (Acceptable). He/she does what is expected of them to complete the assignment.

เกณฑ์คะแนน 4 ดีมาก.ดีเยี่ยม หมายความว่า The students' work is Exemplary (Strong). He/she goes beyond what is expected of them to complete the assignment.

ท่านที่เคารพ ผู้เขียนอยากให้คุณครู “เข้าใจความหมายของเกณฑ์คะแนน เป็นดังความหมายในภาษาอังกฤษที่ยกขึ้นมาอธิบาย” นี้

***เนื่องจากการวัดผลประเมินผลตามความเป็นจริง Authentic assessment นั้น “เราสามารถวัดคุณภาพของผู้เรียนได้หลายแบบ We can measure the quality of the students in various ways.”...ตัวอย่างข้างบนนั้นสามารถใช้วัด “ความสำเร็จของ ผลงาน ชิ้นงาน ความสามารถ และทักษะต่างๆ The success of work, capabilities and skills.

การวัดความสำเร็จของข้อสอบ

***ข้อสอบควรมีความหลากหลาย ทั้ง แบบเลือกตอบ Multiple choice, เติมคำ หรือตอบคำภามสั้นๆ Fill or answer within the brief. และแบบอัตนัย Subjective test ที่เหมาะสมเนื้อหา ความยากง่าย เวลาของการทำข้อสอบ และการตรวจให้คะแนน***

***ในการออกข้อสอบทุกประเภท ทุดครั้ง ขอแนะนำให้ใช้ตาราง Bloom’s Taxonomy of Learning Domains เป็นแนวทางในการ ตั้งคำถาม สร้างตัวเลือก สำหรับแบบเลือกตอบ และมี Key Word สำหรับตั้งคำถามที่ตรงกับวัตถุประสงค์ และตัวชี้วัด ซึ่งควรจะต้องมีหลายระดับของการวัด***

การเทียบ “คะแนนดิบ ให้เป็น ระดับคะแนนแบบ Rubric เกรด 1,2,3,4, ดังนี้

คะแนนดิบ 1-49 เท่ากับ เกรด 1
คะแนนดิบ 50-69 เท่ากับ เกรด 2
คะแนนดิบ 70-89 เท่ากับ เกรด 3
คะแนนดิบ 90-100 เท่ากับ เกรด 4

ไม่ว่าคุณครูจะออกข้อสอบกี่ข้อ หรือขอ่สอบนั้นจะมีคะแนนเต็มเท่าไรก็ตาม ขอให้เทียบเป็นคะแนนเต็ม 100 คะแนนเสมอ แล้วจึงมาเทียบเป็นระดับคะแนน หรือ เกรด ตามแบบ Rubric

***จากผลการ “ทดสอบด้วย Paper” คุณครูผู้สอนย่อมมองเห็นว่า “ใครบ้างที่สมควรที่สมควรได้รับการแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนา”...และในขณะเดียวกัน “การทดสอบภาคปฏิบัติ เพื่อ วัดทักษะ The practical test to measure skills” คุณครูก็จะรู้ได้ทันทีว่า ใครบ้างที่ต้องแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนา เช่นเดียวกัน***

ท่านที่เคารพ...

การแก้ไขข้อบกพร่อง ผิดพลาด คุณครูต้องทำด้วยความตระหนักในจิตวิทยาการเรียนรู้ ยึดมั่นในการเสริมแรงใจ “Reinforcement of mind”ในทางบวก เพราะจิตใจ Mind เป็นตัวสำคัญที่สุดของอายตนะ 6. อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ซึ่งเป็นประตูแห่งการเรียนรู้ของมนุษย์และสัตว์โลกทั้งมวล

ด้วยความรัก ห่วงใย และปรารถนาดีที่สุด